"นายวิทยา ยาม่วง" อธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธานในการแถลง ผลงานการป้องกันการกัดเชาะชายฝั่งที่ภาคภูมิใจและก้าวต่อไปของกรมเจ้าท่า

   

"นายวิทยา ยาม่วง" อธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธานในการแถลง ผลงานการป้องกันการกัดเชาะชายฝั่งที่ภาคภูมิใจและก้าวต่อไปของกรมเจ้าท่า

 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563  กรมเจ้าท่า ร่วมกับ บริษัท เอส ซี จี 1995 จำกัด  ได้จัดกิจกรรมแถลงผลงานการป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่งที่เป็นความภาคภูมิใจ และก้าวต่อไปของกรมเจ้าท่า โดยมีนายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นประธานในการแถลง พร้อมด้วย

นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า

นายวรรณชัย บุตรทองดี ผู้อำนวยการกองวิศวกรรม

และนายบัลลังก์ เมี่ยงบัว วิศวกรโยธาชำนาญการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแถลงผลงานการป้องกันการกัด เซาะชายฝั่งที่ผ่านมา และก้าวต่อไปของกรมเจ้าท่าที่จะดำเนินในอนาคตด้วยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวคิดให้โครงสร้างแข็งที่มีอยู่เดิม และที่กำลังก่อสร้างใหม่ ให้เป็นโครงสร้างเขียว ส่งเสริมและ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยโครงสร้างอ่อน เช่น การเสริมทรายชายหาด โดยมีหาดพัทยาเป็น ต้นแบบ ไปยังหาดอื่นๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศต่อไป เช่น หาดจอมเทียน หาดบางแสน หาดชะอำ หาดเขาหลัก และหาดสมิหลา เป็นต้น พร้อมทั้งเปิดตัวโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่ง บริเวณหมู่ 5 ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่กรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณให้ ดำเนินการก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือรักษาชายฝั่ง และบรรเทาความเดือนร้อนให้กับราษฎรในพื้นที่ที่ประสบปัญหา การกัดเซาะอย่างรุนแรง 









 กรมเจ้าท่า ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาท หน้าที่ และภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมี เป้าหมาย 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่5  ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเด็นสร้าง

การเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล  โดยการฟื้นฟูชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชายฝั่งทะเลได้รับ การป้องกัน และแก้ไขทั้งระบบ และมีนโยบายการจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม       จากสถานการณ์ชายฝั่งทะเลของไทย ซึ่งมีความยาว 3,148 กิโลเมตร ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันประสบปัญหาการ กัดเซาะชายฝั่งรวม 830 กิโลเมตร ซึ่งมีสาเหตุจากธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น และจากการกระทำของ มนุษย์ที่มีการใช้ประโยชน์ และมีกิจกรรมทางทะเลเพิ่มมากขึ้น  ส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์อย่าง หลีกเลี่ยงได้ยาก และหากปล่อยให้กระบวนการนี้เป็นไปโดยไม่มีการป้องกัน แก้ไข ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิต และทรัพย์สินของทั้งภาครัฐและเอกชน กรมเจ้าท่าจึงได้เริ่มดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อย่างเป็นรูปธรรมมายาวนานกว่า 20 ปี โดยปัจจุบันมีโครงการที่กรมเจ้าท่าดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ       รวมระยะทางประมาณ 102 กิโลเมตร โครงการที่อยู่ระหว่างการด าเนินการก่อสร้าง ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร คิดเป็น 14.2 % ของพื้นที่ที่ประสบปัญหาทั้งหมด 830 กิโลเมตร และในอนาคต กรมเจ้าท่า       จะดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้โครงสร้างแข็ง ในพื้นที่กัดเซาะจำเป็นเร่งด่วน และจะมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหากัด เซาะรูปแบบอ่อนด้วยการเสริมทรายชายหาด (Beach Nourishment) ในชายหาดท่องเที่ยวที่ประสบปัญหา   กัดเซาะ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสม และมีผลกระทบน้อย ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดการ จ้างงาน และกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย นับเป็นการบูรณาการแนวทางการแก้ไขปัญหากัดเซาะ ชายฝั่งได้อย่างยั่งยืน 

  โดยกิจกรรมภายในงานวันนี้ ประกอบด้วยการจัดนิทรรศการ และวีดีทัศน์แสดงผลงานการ

ป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เป็นที่ภาคภูมิใจของกรมเจ้าท่า และการตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 











ความคิดเห็น