คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุดล้ำ สร้างสรรค์โครงการ “ชูใจ” หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ ดูแลสุขภาพและช่วยลดความเครียดผู้สูงอายุ


คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุดล้ำ  สร้างสรรค์โครงการ “ชูใจ” หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ ดูแลสุขภาพและช่วยลดความเครียดผู้สูงอายุ


วันนี้ (12 ..63) ที่ห้องประชุม เรนโบว์ Baiyoke Sky Hotel ราชเทวี กรุงเทพฯ นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรและข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้โครงการ "ชูใจ" : หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพใจผู้สูงอายุสำหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โดยมี ผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี หัวหน้าโครงการ"ชูใจ" : หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บรรยายอบรม พร้อมผู้เข้าร่วมโครงการ






ดร.กลกรณ์ฯ ล่าวว่า   ปัจจุบันการใช้งานในส่วนของปัญญาประดิษฐ์เริ่มเข้ามามีบทบาทในหลายส่วนด้วยกันงานวิจัยของเราได้เอาเรื่องของปัญญาประดิษฐ์มาควบคู่กับทางด้านจิตเวช หรือหลักการทางด้านของจิตวิทยา เป็นการผสมผสานในการสร้างเอไอที่เก่งทางด้านอีคิว ที่สามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุในแง่ของทางด้านจิตใจ  ช่วยพูดในเรื่องของการแก้เหงาหรือช่วยในเรื่องของการลดระดับอารมณ์ความครียดภายในจิตใจ และยังช่วยในเรื่องของการกระตุ้นสมองเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม เรามีการประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์มารวมกับทางด้าน ดนตรี ในรูปแบบดนตรีบำบัดคลายเครียด ให้ผู้สูงอายุสามารถได้ใช้เพื่อกระตุ้นสมอง กระตุ้นอารมณ์ของตัวเองให้เกิดความผ่อนคลาย ให้อยู่ในสภาวะที่ดีขึ้นหรือว่าปกติ


ดร.กลกรณ์ฯ กล่าวว่า ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าผู้สูงอายุในประเทศของเราเพิ่มขึ้นเรื่อย  ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว โดยขณะเดียวกันผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่ได้เพิ่มตามจำนวนของผู้สูงอายุ ซึ่งแน่นอนไม่ว่าจะเป็นทางสังคม หรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุต่างๆ หรือแม้กระทั่งในครอบครัว ผู้ที่จะมาอยู่กับผู้สูงอายุตลอดได้เต็มเวลาก็เป็นไปได้น้อย ฉะนั้น ตัวหุ่นยนต์ หรือว่าตัวปัญญาประดิษฐ์ เราสามารถสร้างมันขึ้นมาเพื่อเป็นเพื่อนพูดคุยแก้เหงาจึงเป็นทางเลือกนึงที่สามารถที่จะโต้ตอบกับทางผู้สูงอายุได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุอยู่ในระดับความเครียด เศร้าหรือเหงาก็มีตัวหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์นี้สามารถพูดคุยสนธนาและโต้ตอบกันได้






ดร.กลกรณ์ฯ กล่าวต่อไปว่า ด้วยตัวหุ่นยนต์ชูใจเราออกแบบมาสําหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ  ปัจจุบันเรามองว่าหากการที่จะเอาผู้สูงอายุหนึ่งคนกับหุ่นยนต์หนึ่งตัวอาจจะยาก ในการที่ว่าเราจะขยายปริมาณความต้องการไปได้ระดับนั้น เรามองว่า  ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหนึ่งกลุ่มศูนย์ดูแลต่อหุ่นยนต์ชูใจหนึ่งตัว น่าจะเป็นค่าที่เหมาะสม ถูกหลักมากกว่า คือเราสามารถใช้หุ่นยนต์ชูใจกับผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคซึมเศร้า โรคเครียดต่างๆ หรือคิดถึงลูก สามารถใช้หุ่นยนต์ชูใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งดีกว่าการขยายปริมาณหุ่นยนต์ชูใจไปแจกจ่ายตามชุมชน ซึ่งอาจมีงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้นและไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน


ดร.กลกรณ์ฯ กล่าวว่า  ตอนนี้เราพยายามสร้างเครือข่ายภาคีดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่นโรงพยาบาลศิริราช กรมกิจการดูแลผู้สูงอายุ และสมาคมต่างๆ โดยทางเราได้จัดการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด






ความคิดเห็น