4ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งเครือข่ายสภาสื่อมวลชนระดับภูมิภาค
สภาการหนังสือพิมพ์ 4 ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงนาม ”ปฏิญญากรุงเทพฯ”จัดตั้งเครือข่ายสภาสื่อมวลชนระดับภูมิภาคอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 ที่อาคารพิพิธภัณพ์กำพล วัชรพล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ผู้แทนสภาการสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (The National Press Council of Thailand) โดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการฯ, สภาสื่อมวลชนเมียนมา (Myanmar Press Council) โดย ดร.เมียว แทนต์ ทยิน รองประธาน, สภาสื่อมวลชนอินโดนีเซีย (Dewan Pers) โดยนายเฮนดรี บางุน รองประธาน, และสภาสื่อมวลชนติมอร์เลสเต (Timor-Lester Pres Council) โดยนายเวอร์จิลิโอ ดา ซิลวา กูเตอร์เรส ประธาน ได้ร่วมกันลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งเครือข่ายสภาสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Councils Network: SEAPCN) ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่ได้มีการจัดตั้งกรอบการทำงานจะร่วมกันอย่างเป็นทางการเพื่อยกระดับคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์สาธารณะ
พิธีลงนามดังกล่าวมีนายมานิจ สุจสมจิตร บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และอดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนแรกของไทย นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล เลขาธิการสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน นายปราเทศ เหล็กเพ็ชร์ อดีตประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
และนายบวร ศรีโทแก้ว บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม
การลงนามครั้งนี้เป็นผลจากการหารือร่วมกันเป็นครั้งแรกของตัวแทนจากองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เมียนมา และติมอร์ เลสเต ที่ได้มาชุมนุมกันตามคำเชิญของสภาการฯ ซึ่งปฏิญญากรุงเทพได้ระบุหลักการเบื้องต้นของกรอบความร่วมมือเอาไว้เพื่อการส่งเสริมเสรีภาพสื่อผ่านกลไกกำกับดูแลกันเอง และหลักจริยธรรมวิชาชีพ ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อร่างธรรมนูญ และประกาศใช้ในการประชุมบาหลีมีเดียฟอรั่ม ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมปีนี้ด้วย
-//////////////////-
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 ที่อาคารพิพิธภัณพ์กำพล วัชรพล หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ผู้แทนสภาการสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (The National Press Council of Thailand) โดยนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการฯ, สภาสื่อมวลชนเมียนมา (Myanmar Press Council) โดย ดร.เมียว แทนต์ ทยิน รองประธาน, สภาสื่อมวลชนอินโดนีเซีย (Dewan Pers) โดยนายเฮนดรี บางุน รองประธาน, และสภาสื่อมวลชนติมอร์เลสเต (Timor-Lester Pres Council) โดยนายเวอร์จิลิโอ ดา ซิลวา กูเตอร์เรส ประธาน ได้ร่วมกันลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งเครือข่ายสภาสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Councils Network: SEAPCN) ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่ได้มีการจัดตั้งกรอบการทำงานจะร่วมกันอย่างเป็นทางการเพื่อยกระดับคุณภาพของผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์สาธารณะ
พิธีลงนามดังกล่าวมีนายมานิจ สุจสมจิตร บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และอดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนแรกของไทย นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล เลขาธิการสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งอาเซียน นายปราเทศ เหล็กเพ็ชร์ อดีตประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
และนายบวร ศรีโทแก้ว บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม
การลงนามครั้งนี้เป็นผลจากการหารือร่วมกันเป็นครั้งแรกของตัวแทนจากองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เมียนมา และติมอร์ เลสเต ที่ได้มาชุมนุมกันตามคำเชิญของสภาการฯ ซึ่งปฏิญญากรุงเทพได้ระบุหลักการเบื้องต้นของกรอบความร่วมมือเอาไว้เพื่อการส่งเสริมเสรีภาพสื่อผ่านกลไกกำกับดูแลกันเอง และหลักจริยธรรมวิชาชีพ ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อร่างธรรมนูญ และประกาศใช้ในการประชุมบาหลีมีเดียฟอรั่ม ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมปีนี้ด้วย
-//////////////////-
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น