5 ปลัดอำเภอ แก้ปัญหาชาวบ้านจากความเข้าใจ



อีกส่วนงานหนึ่งของกรมการปกครอง ค่อ มุ่งบำบัดทุกข์ให้กับชาวบ้าน มุ่งปัญหาความเดือดร้อน   แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีหลากหลายและ วิธีต้องใช้การแก้ที่แตกต่างกัน   ซึ่งหน้าที่ของ ปลัดอำเภอ  คือการแก้ไขปัญหาที่รุนแรงอยู่แล้วให้เบาลง และพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ดั่งคติการทำงานของกรมการปกครอง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”


นางสาววรางคนา พยอมยงค์  ปลัดดอกไม้เหล็กแห่งดอยเต่า ความทุ่มเทให้พื้นที่ 25 ชั่วโมง
 วรางคนา บรรจุเป็นปลัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 และเพราะใจรัก ทำให้เธอไม่ลังเลใจที่จะทำงานฝ่ายความมั่นคงทันที ซึ่งเธอออกตัวมาว่า เป็นงานที่ “บู๊” มาก โดยเฉพาะกรณีปราบปรามยาเสพติด แต่หลัก ๆ เธออยู่ฝ่ายวางแผนและคุมกำลังในการลงพื้นที่มากกว่า


นายสรศิริ จันดีบุตร   ยุติสงครามลักลอบค้าไม้เถื่อนด้วยการสร้างอาชีพ   ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบ ที่ต้องช่วยเหลือดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ และพิทักษ์ผืนป่าอันเป็นทรัพยากรของคนไทยทั้งประเทศ โดยปลัดอำเภอดีเด่นคนนี้อยากเห็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุอย่างจริงจัง ด้วยการส่งเสริมสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในพื้นที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และต้องประสานงานชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ครอบคลุมถึงงานปราบปราม ซึ่งเป็นงานที่ต้องเสี่ยงอันตรายไม่ต่างจากการเป็นทหาร ตำรวจ ที่ดูแลความมั่นคงให้กับประชาชนในพื้นที่


นายธวัช กุลวุฒิพงษ์ศักดิ์  ปลัดอำเภอเมืองปัตตานี ใช้การศึกษาแก้ปัญหาด้ามขวานไทย   โดย ธวัช  มองว่า “พื้นที่สามจังหวัด ยังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา เพราะเมื่อไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ในแต่ละวันที่เขาเติบโตขึ้นไปก็ใช้ชีวิตแบบไม่มีความหมาย อันนี้จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่เราต้องร่วมกันให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับครอบครัว โดยเริ่มจากสนับสนุนเรื่องการศึกษา”


นายสุชาติ จารย์รัตน์  ปลัดหมอแคน ใช้เสียงดนตรี “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ประชาชน  เภสัชกร หมอแคน และปลัดอำเภอ ดูจะเป็นส่วนผสมที่น่าสนใจมาก ๆ ที่อยู่ในตัวของสุชาติ จารย์รัตน์  แต่ที่สุดหากจะต้องเลือกสักอย่าง สุชาติ จารย์รัตน์ ตอบได้อย่างไม่ลังเลว่า เขาเป็น…ปลัดอำเภอ  อยู่ที่อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ความสามารถหนึ่งที่เป็นเหมือน “สะพาน” เชื่อมระหว่างตัวปลัดสุชาติ และชาวบ้านเอง นั่นคือการเป่าแคน ซึ่งเป็นความชอบของเขาตั้งแต่ยังเด็ก จากนั้นมาสุชาติก็เลยได้รับตำแหน่ง “หมอแคน” ติดตัวมาจนเขาได้เป็นปลัดอำเภอ จึงได้ใช้ทักษะการเป่าแคนนี้ในการทำงานชุมชน


ว่าที่ ร.ต.ศิระ บุญแทน   เรียนรัฐศาสตร์ เพราะอยากช่วยเหลือผู้คน  “ผมเริ่มบรรจุเป็นปลัดอำเภอปี 2558 ที่สุราษฎร์ฯ ต่อมาก็ได้ย้ายมาเป็นปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคงที่กำแพงแสน ย้ายมาไม่ถึงอาทิตย์ เคสแรกเลยคือจับยาเสพติด ออกไปล่อซื้อยาเสพติดกับทหาร เจอยาบ้ากว่าสองพันเม็ดฝังดินเอาไว้ คนขายเป็นแม่ลูกอ่อน ขายยาบ้าหาเงินเลี้ยงลูก”  นอกจากนี้จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเรื่องศูนย์ดำรงธรรม ทำให้ในแต่ละวันมีชาวบ้านเข้ามาร้องเรียนเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องหนี้นอกระบบ แนวหลักเขตที่ดิน และปัญหาปากท้องข้าวยากหมากแพง

                                      -////////////////-

ความคิดเห็น