ร้อยเอ็ด...คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎรลงพื้นที่ดูงานการบริหารจัดการน้ำและแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำ ในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำโขงเลย ชี มูล และสงคราม


     ร้อยเอ็ด...คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎรลงพื้นที่ดูงานการบริหารจัดการน้ำและแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำ ในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำโขงเลย ชี มูล และสงคราม

         วันที่ 13 มิถุนายน ๒๕๖3 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด นายทวี จงประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานกล่าวต้อนรับนายศักดา คงเพชร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร และประธานอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม และคณะ โดยมีนายชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนสังกัดกรมชลประทาน นายอำเภอและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมและให้ข้อมูล





นายทวี จงประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาทางตอนเหนือซึ่งติดต่อจากเทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น สภาพพื้นที่ลาดเทจากทิศตะวันตกไปทางทิศเหนือและตะวันออกเข้าหาแม่น้ำชี บริเวณตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบต่ำรูปกระทะ ที่เรียกว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่ จำนวน 12 อ่างเก็บน้ำ โดยมีความจุน้ำรวมกว่า 69.342 ล้านลูกบาศก์เมตร มีแม่น้ำและลุ่มน้ำไหลผ่านรวม 13 สาย โดยมี แหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ำชี ลำน้ำยัง และลำน้ำมูล มีลำน้ำหลักได้แก่ ลำเสียวใหญ่ ลำเสียวน้อย ลำเตา ลำพลับพลา ซึ่งไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดศรีสะเกษ สำหรับปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น มักจะประสบกับปัญหาอุทกภัยในช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในลุ่มน้ำยังจะประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก สาเหตุเนื่องจากลำน้ำคดเคี้ยว เมื่อเกิดฝนตกหนักและการไหลมารวมกันของน้ำจากเทือกเขาภูพาน  ปัญหาน้ำท่วมที่สำคัญเกิดจากการพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีการถมที่ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนปิดกั้นทางน้ำธรรมชาติ เป็นเหตุทำให้ไม่สามารถระบายน้ำฝนที่ตกได้ทัน ในส่วนปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนใหญ่มักเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณฝนในฤดูแล้งน้อย และปริมาณน้ำต้นทุนที่กักเก็บยังไม่เพียงพอกับความต้องการ





และในวันที่ 14 มิถุนายน 2563 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร และคณะ จะเกดินทางไปศึกษาดูงานที่ อ่างเก็บน้ำห้วยจานใต้ อำเภอปทุมรัตต์ ลำเสียวน้อย อำเภอเกษตรวิสัย และเลิงขี้ตุ่น อำเภอสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นคณะกรรมาธิการฯ และคณะ เดินทางไปปฏิบัติราชการต่อที่จังหวัดศรีสะเกษ
/////
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
สุทธิชัย อุปปะ(เต็ม)รายงาน


ความคิดเห็น